สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
- ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้ง
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเทวราช อยู่ทางทิศตะวันตก ของที่ว่าการอำเภอไชโย ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ห่างจากตัวอำเภอไชโย ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดอ่างทอง ประมาณ ๗ กิโลเมตร ตำบลเทวราช มีเนื้อที่ประมาณ ๗.๑ ตารางกิโลเมตร หรือ ๔,๔๓๗.๕๐ ไร่ ประกอบด้วย
- หมู่ ๑ เนื้อที่ ประมาณ ๑,๐๐๔ ไร่
- หมู่ ๒ เนื้อที่ ประมาณ ๔๕๐ ไร่
- หมู่ ๓ เนื้อที่ ประมาณ ๗๘๐ ไร่
- หมู่ ๔ เนื้อที่ ประมาณ ๕๕๙ ไร่
- หมู่ ๕ เนื้อที่ ประมาณ ๙๔๘ ไร่
- หมู่ ๖ เนื้อที่ ประมาณ ๖๐๐ ไร่
- หมู่ ๗ เนื้อที่ ประมาณ ๑๔๑ ไร่
๑.๒ ภูมิประเทศ
พื้นที่ทางกายภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่ม บางส่วนอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดน้ำท่วม ในฤดูน้ำหลาก อาชีพส่วนใหญ่รับจ้างทั่วไป รองลงมาคือทำนา ทำสวน และค้าขาย ตำบลเทวราช มีคลองชลประทานไหลผ่านตลอดด้านหน้าหมู่บ้าน จำนวน ๑ สาย
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออก ติดต่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลตลาดกรวด อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
มี ๓ ฤดูกาล ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือน กุมภาพันธ์
๑.๔ ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในตำบลเทวราช ประกอบด้วยดินหลายประเภท เช่นส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปน ดินร่วน ดินเหนียวปนดินทราย ดินร่วนปนดินทราย เป็นต้น เกิดจากการทับถมของตะกอนบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
๑.๔ ลักษณะแหล่งน้ำ
ตำบลเทวราช มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน จำนวน ๑ สาย
มีหนองน้ำ จำนวน ๖ แห่ง
- หนองขันเหลา
- หนองพนม
- หนองมน
- หนองอีด้วง
- หนองสามง่ามน้อย
- หนองสามง่ามใหญ่
คลองส่งน้ำ มี ๒ แห่ง
- คลองบางวัดเยื้อง
- คลองลาว
๑.๕ ลักษณะของไม้และป่าไม้
ตำบลเทวราชไม่มีพื้นที่ป่าไม้ มีแต่การส่งเสริมให้มีการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ปลูกป่าบริเวณ ๒ ข้างทาง สถานที่ราชการ สถานศึกษา ศาสนสถานและริมแม่น้ำลำคลอง
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
ตำบลเทวราชแบ่งการปกครองออกเป็น ๗ หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ ๑ บ้านลาว
นางนันท์นภัส สังโยคะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นายประสิทธิ์ คงทน เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายประดิษฐ์ บุญลือด้วง เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางวาสนา เกตุหอม เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นายสุชาติ มากสุวรรณ์ เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ ๕ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ ๒ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ประวัติหมู่บ้าน
หมู่ที่ ๑ บ้านลาว สันนิฐานว่าจากคำบอกเล่าของชาวบ้านรุ่นเดิมว่า ก่อนมาตั้งหมู่บ้านแห่งนี้เป็นคนมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทร์ ซึ่งอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน ได้ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อเสร็จสิ้นศึกสงคราม ประชาชนบางส่วนไม่ได้กลับไปบ้านเมือง ได้แยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยและคนส่วนหนึ่งเห็นว่าที่หมู่บ้านแห่งนี้มีทำเลที่เหมาะสม อุดมสมบูรณ์ จึงได้ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนลาว เมื่อมีการประกาศให้ขึ้นทะเบียนหมู่บ้าน จึงใช้ชื่อว่า บ้านลาว สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ ๒ บ้านปากบาง
นางอรุณศรี เที่ยงถิ่น เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นายณรงค์เดช นาคปั้น เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายวินัย เมืองมีศรี เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายอเนก พวงประดับ เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นางอรอุมา นาคปั้น เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ ๑ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ ๓ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออกติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตกติดต่อกับ หมู่ที่ ๑ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ประวัติหมู่บ้าน
ปากบาง เป็นชื่อเรียก ปากแม่น้ำส่วนที่แคบและตื้นมีปลาชุกชุมและแหล่งอุดมสมบูรณ์ ประชาชนจึงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำ และตั้งชื่อบ้านว่าบ้านปากบางตามแม่บ้าน เมื่อมีการประกาศให้ขึ้นทะเบียนหมู่บ้าน จึงใช้ชื่อว่าบ้านปากบางสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ ๓ บ้านโตนด
นายบุญช่วย โตรส เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นายพันธ์ลภ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางอำนวย พวงเนียม เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายบุญมี สุขสุเหิม เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นายวิทยา ทัศนุรักษ์ เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ ๒ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ ๔ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออกติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตกติดต่อกับ หมู่ที่ ๔ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ประวัติหมู่บ้าน
เนื่องจากในสมัยก่อน หมู่บ้านแห่งนี้มีการปลูกต้นตาลโตนดเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำน้ำตาลปึกขาย ขายลูกตาลสดและทำขนมตาล เป็นที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักของคนในสมัยนั้น และยังได้สืบทอดต่อกันมาจนได้รับการเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่าบ้านโตนด ปัจจุบันความเจริญเข้ามามีการตัดถนน ต้นตาลโตนดได้ถูกโค่นไปทำสาธารณะประโยชน์เป็นจำนวนมากแต่ก็ยังมีหลงเหลือให้เห็นแต่ไม่มีมากเหมือนสมัยก่อน หมู่บ้านนี้จึงได้รับการขนานนามว่าบ้านโตนด เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลเทวราชและใช้ชื่อนี้ขึ้นทะเบียนหมู่บ้านว่าบ้านโตนด
หมู่ที่ ๔ บ้านโตนด
นายสมบูรณ์ สีสด เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นายไฉน เงินมีศรี เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางวาสนา เชื้ออินทร์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายสุชาติ จันทุรัตน์ เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นางบุญสม จันทร์สอน เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ ๓ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ ๕ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออกติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตกติดต่อกับ ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ประวัติหมู่บ้าน
เนื่องจากในสมัยก่อน หมู่บ้านแห่งนี้มีการปลูกต้นตาลโตนดเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำน้ำตาลปึกขาย ขายลูกตาลสดและทำขนมตาล เป็นที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักของคนในสมัยนั้น และยังได้สืบทอดต่อกันมาจนได้รับการเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่าบ้านโตนด ปัจจุบันความเจริญเข้ามามีการตัดถนน ต้นตาลโตนดได้ถูกโค่นไปทำสาธารณะประโยชน์เป็นจำนวนมากแต่ก็ยังมีหลงเหลือให้เห็นแต่ไม่มีมากเหมือนสมัยก่อน หมู่บ้านนี้จึงได้รับการขนานนามว่าบ้านโตนด เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลเทวราชและใช้ชื่อนี้ขึ้นทะเบียนหมู่บ้านว่าบ้านโตนด
หมู่ที่ ๕ บ้านบ่อน้ำ
นายนิคม เผือกเปีย เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นายปรเมศวร์ นาคมีศรี เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางมัณฑนา บุญประดับ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายพิศาล สินธุสุวรรณ เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นางสมพร วิหกเหิน เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ ๔ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ ๖ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออกติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตกติดต่อกับ ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ประวัติหมู่บ้าน
เนื่องจากสมัยก่อน หมู่บ้านแห่งนี้มีเส้นทางการเดินทางไปยังต่างหัวเมืองไกลๆ คนส่วนใหญ่มักจะเดินทางแล้วหยุดพักในหมู่บ้านแห่งนี้ เพราะมีภูมิประเทศร่มรื่นเหมาะสมมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใสสะอาดให้ได้ใช้อุปโภคบริโภคตลอดมาและหมู่บ้านแห่งนี้มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่แห้งมีให้ใช้ได้ตลอดทั้งปี จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและได้รับการขนานนามหมู่บ้านบ่อน้ำ หมู่ที่ 5 ตำบลเทวราชจนถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ ๖ บ้านเทวราช
นายกิตติศักดิ์ ฮวบเจริญ เป็นกำนัน
นายมนูล หวังดี เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางทองคืน ม่วงสน เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายเอกวัฒน์ หริ่วน้อย สารวัตรกำนัน
นายองอาจ สุวรรณผ่อง สารวัตรกำนัน
นายสมพงษ์ คันทรง เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นางสาวสุนันท์ คันทรง เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ ๕ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ ๕ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออกติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตกติดต่อกับ ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านเทวราช หมู่ที่ ๖ สันนิฐานว่าเป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่ราบลุ่มเหมาะเป็นสถานที่ตั้งทัพหลวง ซึ่งได้ยกกองทัพมาตั้งเป็นฐานทัพ เพื่อป้องกันการโจมตีของทัพพม่า เมื่อครั้งสมัยพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่พักของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งนำทัพมารบกับพม่า หมู่บ้านนี้จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปว่าเป็นบ้านเทวราช และปัจจุบันมีการแบ่งเขตการปกครองเป็นตำบลเทวราช จนถึงปัจจุบันนี้
หมู่ที่ ๗ บ้านท่าแดง
นางวันดี สุนทรนันท์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นายนิกร ชูเชิด เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายสุวินิจ ปานหิรัญ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายปัญญา ชูเชิด เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
นายสมชาย ยอดมีกลิ่น เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ ๗ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ ๕ ตำบลย่านซื่อ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออกติดต่อกับ หมู่ที่ ๖ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันตกติดต่อกับ ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านท่าแดง หมู่ที่ ๗ แยกมาจากหมู่ที่ ๖ เนื่องจากประชาชนมีการปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ในหมู่ที่ ๖ แต่เนื่องจากมีอาชีพทำนา จึงออกไปทำนาและสร้างกระต๊อบเพื่อพักผ่อนอยู่หัวไร่ปลายนา ไม่ได้เป็นบ้านเรือนถาวร และเมื่อต้องออกไปทำนาทุกวันจึงไม่อยากเดินทางกลับบ้านจึงพักค้างคืนที่นั่น และต่อมาก็สร้างบ้านเรือนถาวรและแยกเป็นหมู่บ้านขึ้นอีกหนึ่งหมู่บ้าน เรียกว่าบ้านท่าแดงตามชื่อที่ตั้งบ้านเรือน และปัจจุบันมีการแบ่งเขตการปกครองเป็นตำบลเทวราช และหมู่ที่ ๗ จึงเรียกชื่อบ้านว่าบ้านท่าแดงมาจนถึงปัจจุบันนี้
๒.๒ เขตการเลือกตั้ง
ตำบลเทวราช แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น ๗ หน่วยเลือกตั้ง ประกอบด้วย
๑. หน่วยเลือกตั้งที่ ๑ บ้านลาว หมู่ที่ ๑
๒. หน่วยเลือกตั้งที่ ๒ บ้านปากบาง หมู่ที่ ๒
๓. หน่วยเลือกตั้งที่ ๓ บ้านโตนด หมู่ที่ ๓
๔. หน่วยเลือกตั้งที่ ๔ บ้านโตนด หมู่ที่ ๔
๕. หน่วยเลือกตั้งที่ ๕ บ้านบ่อน้ำ หมู่ที่ ๕
๖. หน่วยเลือกตั้งที่ ๖ บ้านบ่อน้ำ หมู่ที่ ๖
๗. หน่วยเลือกตั้งที่ ๗ บ้านท่าแดง หมู่ที่ ๗
๓. ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร
๑) มี ๗ หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน ๖๘๙ หลังคาเรือน
๒) จำนวนประชากรทั้งหมด ๑,๙๙๘ คน รายละเอียดดังนี้
หมู่ที่
|
ชื่อบ้าน
|
จำนวนประชากร
|
จำนวนครัวเรือน
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
๑
|
บ้านลาว
|
๑๘๕
|
๑๙๙
|
๓๘๔
|
๑๓๒
|
๒
|
บ้านปากบาง
|
๙๙
|
๑๑๔
|
๒๑๓
|
๔๘
|
๓
|
บ้านโตนด
|
๑๑๖
|
๑๓๒
|
๒๔๘
|
๘๑
|
๔
|
บ้านโตนด
|
๑๗๕
|
๑๖๘
|
๓๔๓
|
๑๓๒
|
๕
|
บ้านบ่อน้ำ
|
๑๕๗
|
๑๘๒
|
๓๓๙
|
๑๓๑
|
๖
|
บ้านบ่อน้ำ
|
๑๔๗
|
๑๔๙
|
๒๙๖
|
๙๔
|
๗
|
บ้านท่าแดง
|
๘๒
|
๘๐
|
๑๖๒
|
๓๖
|
ข้อมูลจากสำนักทะเบียนอำเภอไชโย ณ เดือน มิถุนายน ๒๕๖๑ (รอปรับปรุงข้อมูล)
|